หน่วยที่1

เรื่อง ทุกได้แต่อย่าท้อ
มนุษย์ทุกคนล้วนไม่มีใครชอบความทุกข์และหาหนทางหลีกเลี่ยงเสมอ หลายคนใช้วิธีทำตนเองให้มีจิตใจที่ว่างไปจากความทุกข์ คนบางคนเมื่อเกิดทุกข์แล้วเขาไม่ย่อท้อพยายามหาทางที่จะดำเนินชีวิตให้ได้อย่างเป็นปกติสุข วิธีการเหล่านี้ก็คือการสร้างพลังอำนาจทางจิตใจของตนเองให้ปลอดไปจากความทุกข์ แต่การจะทำตัวเราให้ว่างไปจากความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงนั้น เราก็ต้องรู้สาเหตุให้ได้ก่อนว่า ความทุกข์ของมนุษย์ประเภทเราที่ใช้ชีวิตประจำวันเดินดินข้าวแกงอยู่ในทุกวันนี้ มีบ่อเกิดแห่งทุกข์มาจากช่องทางใดและเงื่อนไขใดได้บ้าง
บ่อเกิดแห่งทุกข์ของมนุษย์มี 3 ประการ คือ
1.            ความทุกข์ที่เกิดจาก”ความอยาก”ทั้งหลายทั้งปวง เช่น อยากรู้ อยากเห็น อยากดู อยากเป็น อยากมี อยากได้ อยากกิน อยากดม อยากจับ อยากสัมผัส
      อยากอยากเหล่านี้ มันนำพาความทุกข์มาสู่ตนเองได้อย่างไร
      ส่วนใหญ่แล้วมนุษย์มักจะรู้ไม่ทันความทุกข์ที่เกิดขึ้นในจิตของตนเอง ที่ควบคู่ไปกับความอยากที่มันบังเกิดขึ้นมาด้วยกัน  กล่าวง่ายๆก็คือว่า ถ้าเมื่อใดในจิตใจของเราเกิดการสั่นสะเทือนเป็นความอยากขึ้นมา ในเวลาเดียวกันนั้น จิตใจอีกส่วนหนึ่งของเราจะสั่นสะเทือนเป็นทุกข์ทีเป็นผลลัพธ์หรือผลกรรมที่เกิดขึ้นจากการสั่นสะเทือนของความอยากทั้งหลายที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
      เช่น ความอยากรู้ เรามักอยากรู้ว่า เราจะได้รู้ไหม เราจะได้รู้มากรู้น้อยแค่ไหน เราจะรู้ได้อย่างไร นั่นคือตัวอย่าง
      ขณะที่สั่นสะเทือนเป็นความอยากมากๆอยู่นี้ มนุษย์เราส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวเลยว่านั่นคือความทุกข์ แต่พอเมื่อเราสมอยากแล้ว จึงมีเวลาค่อยๆย้อนกลับมานั่งวิเคราะห์ว่า ตอนที่เราอยากมากๆ ก่อนจะสมอยากของเรานั่นมันคือทุกข์หรือไม่ เราจะเห็นภาพมันอย่างชัดเจน เห็นภาพพฤติกรรมของเรา เห็นภาพบทบาทลีลาที่ตนเองแสดงออก เพื่อให้ได้มาซึ่งความอยากหรือคามต้องการของตนเอง ถึงตรงนี้เราจะสามารถบอกได้ว่า มันทุรนทุรายขนาดไหน ต้องดิ้นรนมากมายเพียงใด ต้องทรมานแค่ไหน ต้องคาดหวัง ต้องมุ่งหมาย ต้องมุ่งมั่นปานใด  เหนื่อยนักหนา นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า “ ความทุกข์” ทั้งนั้น
      ความทุกข์ในที่นี้ หมายถึง สิ่งที่ทนได้ยาก นั่นคือนิยามของคำว่า “ทุกข์” เพราะฉะนั้น ถ้าจะกล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจของเรา สิ่งที่เกิดขึ้นในอารมณ์รู้สึกของเราแล้วเป็นสิ่งที่ทนได้ยาก เราก็จะเรียกมันว่า “ความทุกข์”
2.            ความทุกข์ที่เกิดจาก “ความไม่อยาก” ทั้งหลายทั้งปวง ถ้าเราต้องการจะว่างไปจากความทุกข์ได้ เราจะต้องดับทุกข์ที่เกิดจากความไม่อยากของจิตใจของเราให้ได้ด้วย ในชีวิตประจำวันของเรา “ความไม่อยาก” ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามและกลับกันกับความอยาก สามารถนำพาความทุกข์มาให้กับตัวเราเองเช่นกัน มันนำพาอารมณ์รู้สึกนึกคิดที่ทนได้ยากให้เกิดขึ้นในหัวใจของเราทั้งหลายในชีวิตประจำวันได้ไม่ต่างกับความอยากเลย เช่น ถ้าไม่อยากรู้ในขณะที่ตัวเองต้องรู้หรือได้รู้ เพียงแค่นี้ทุกข์แล้วใช่หรือไม่  หรือสิ่งที่เราไม่อยากเห็นและตัวเราหลีกเลี่ยงไม่ได้หลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องยังก่อให้เกิดความลำเค็ญในหัวใจได้เหมือนกันเราต้องทนดูเห็นในสิ่งที่ตัวเราไม่อยากดูไม่อยากเห็นเรื่องนี้ก็คือความทุกข์ด้วยเช่นเดียวกัน
เหมือนดังตัวอย่าง เช่น ถ้าเรายังต้องอยู่ร่วมกันในห้องทำงานเดียวกันกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ หรือต้องอยู่ร่วมกันในห้องเดียวกันกับคนที่ใกล้ชิดคนที่ใกล้ตัว อยู่กับครอบครัวของเรา แล้วอยู่ๆขณะที่เรากำลังมีความสุขมีอารมณ์ดีอยู่ ก็เกิดได้กลิ่นไม่พึงประสงค์ ซึ่งเราก็รู้ว่า ต้องมีใครก็ใครคนใดคนหนึ่งละที่อยู่ในห้องนั้นเป็นผู้กระทำออกมา ทำให้เรารู้สึกสะอิดสะเอียน ทำให้รู้สึกคลื่นเหียนเวียนศีรษะ เวียนอารมณ์พะอืดพะอมเพราะเป็นกลิ่นอันไม่พึงต้องการ ถ้าหากว่าเรายังยึดติดอยู่กับคำว่า “ไม่อยากได้กลิ่นนี้เลย รำคาญกลิ่นนี้จัง เหม็นจังเลย ใครน่ะเป็นคนปล่อยกลิ่นไม่ดีนี้ออกมา”
ถ้าจิตใจของเราสั่นสะเทือนด้วยอาการที่เป็นอารมณ์รู้สึกนึกคิดอยู่อย่างนี้ นั่นแสดงว่าเรากำลังปฏิเสธกลิ่นที่เราได้สัมผัสหรือได้สูดเข้าไปถูกต้องหรือไม่
ธรรมดาแล้วกลิ่นเหม็นไม่มีใครชอบ เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าเราผู้เป็นผู้ประพฤติธรรม แต่เรายังยึดติดคิดจะปฏิเสธกลิ่นนั้นอยู่ แสดงว่าเรามีการสั่นสะเทือนเป็นการไม่อยากอยากขึ้นแล้ว ไม่อยากได้ได้กลิ่น ไม่อยากดมไม่อยากหายใจเข้าไปใช่ไหม และถามว่า เป็นทุกข์หรือไม่ ถ้าหากว่าตราบใดที่เรายังต้องสูดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นกลิ่นอันชวนสะอิดสะเอียนคลื่นเหียนอาเจียนเข้าไปพร้อมกับลมหายใจที่เราต้องการอยู่นี้ นานมาก เท่าใดมันก็ยิ่งทำให้เราเป็นทุกข์นานมากเท่านั้น สุดจะทนหรือเหลือจะทนทานได้มากเท่านั้น นั่นคือตัวอย่างของ “ความทุกข์จากความไม่อยาก”
เพราะฉะนั้น ถ้าเราต้องการจะดับทุกข์หรือทำตัวเองให้ว่างไปจากความทุกข์ ก็คือ “อย่าเกิดความทุกข์” ถึงแม้จะเป็นเรื่องของความอยากหรือไม่อยากก็ตาม ถ้าเราไม่มีคำว่า”อยาก” หรือไม่มีคำว่า”ไม่อยาก” เราจะว่างไปจากความทุกข์เป็นแน่นอน นั่นคือวิธีง่ายๆ
การที่จะช่วยทำให้เรามีการปลอดทุกข์เกิดขึ้นในหัวใจ ซึ่งเรารู้ว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก ถ้าเรานั้นเป็นผู้ประพฤติธรรมต้องเข้าใจและรับทราบให้ได้ว่า แท้จริงแล้ว “ความอยาก” หรือ “ความไม่อยาก” ทั้งหลายทั้งปวงนี้ คือ ตัวก่อเหตุก่อการณ์ ทำให้เรามีปัญหาในเรื่องของอารมณ์รู้สึกที่เป็นกิเลสตัณหานานัปการเราจะต้องหาวิธีดับกิเลส ดับตัณหาไม่ให้มันเกิดให้วุ่นวายในชีวิตประจำวัน หรือให้วุ่นวายไปทั้งชีวิตนี้ด้วยซ้ำแต่เราก็ไม่สามารถจะขจัดขัดเกลาหรือปัดเป่าไม่ให้กิเลสตัณหามาสั่นสะเทือนเกิดขึ้นในจิตใจของเราในชีวิตประจำวันได้ เพราะมันกลายเป็นเรื่องที่เราคิดว่ายากไปสำหรับเราแล้ว
แท้จริงแล้วกิเลสตัณหาเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นโลภะ โทสะ โมหะ ที่เราเรียกว่า โลภ โกรธ หลง งมงาย สงสัย เหล่านี้ล้วนเกิดจากความอยากของมนุษย์ทั้งสิ้น ความอยากหรือความไม่อยากเป็นเรื่องเดียวกันเป็นตัวนำไปสู่โลภะ โทสะ โมหะ อย่างที่พระพุทธเจ้าท่าทรงสอนพวกเรามา
การที่เราจะไม่ทำให้เกิดความทุกข์อันเกิดจากความอยากหรือไม่อยากนั้นมีวิธีเดียวคือ
อย่ามีคำว่าอยาก หรือคำว่าไม่อยาก เกิดขึ้นในชีวิต
หลายคนถามว่า ทำไมความอยากหรือไม่อยากเป็นตัวก่อเหตุ และทำให้บังเกิดความทุกข์ในจิตใจของคนเราได้เสมอ
สาเหตุก็เป็นเพราะว่าเมื่อเกิดทุกข์ขึ้นในจิตใจของเนาแล้ว การเป็นคนปลอดทุกข์หรือว่างไปจากความทุกข์กลายเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ พอหัวใจมีความทุกข์ อำนาจแรงสั่นสะเทือนทางจิตใจที่เป็นคลื่นความถี่ทางพลังงานก็จะมีพลังอำนาจที่ต่ำ ถ้าจะกล่าวให้เป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ท่านนักวิชาการทั้งหลายหรือผู้เรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์พลังงานมาบ้างได้มีความเข้าใจตรงกัน ก็คือ พลังอำนาจทางจิตใจของเรา ถ้าเราสามารถจะสั่นยะเทือนด้วยคลื่นความถี่ที่ต่ำอำนาจทางพลังงานก็จะต่ำไปด้วย
ไม่ต่างกับสายของกีตาร์ ถ้าเราดึงหรือไขปับให้ตึง เวลาเราดีด เสียงที่ได้เป็นเสียงสูง เสียงที่สูงนี้คือผลลัพธ์ของการสั่นสะเทือนด้วยคลื่นความถี่สูง เพราะความตึงของเส้นลวดเส้นนั้นนั่นเอง ต่างกับสายของกีตาร์อีกเส้นหนึ่ง ที่ขึงเอาไว้ตึงน้อยกว่า เวลาดีดแล้วเสียงที่ปรากฏออกมาให้หูเราได้ยินรินรับนั้น มันก็จะเป็นคลื่นของความถี่ของเสียงที่ทุ้มกว่านุ่มกว่าและต่ำกว่า เพราะแรงสั่นสะเทือนหรือความถี่ของการสั่นสะเทือนจะสั่นสะเทือนได้ต่ำกว่า หรือน้อยกว่าเส้นที่ดึงหรือขึงไว้จนตึงนั่นเอง
3.ความทุกข์ที่เกิดจากความรู้ของเรา สำหรับมนุษย์เราจะมีความรู้ที่เรารู้อยู่แล้วอยู่กับตัวเราเอง และความรู้ที่เรารู้บางสิ่งบางเรื่องนี้ จะนำพาตัวเราไปสู่ความทุกข์และทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนทางจิตใจของเราให้เป็นทุกข์ได้มี 5 ประการคือ
1.            รู้ล่วงหน้า ถ้าเรารู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับภัยพิบัติทั้งหลายบนโลก พื้นแผ่นดินจะสั่นสะเทือนเคลื่อนไหลรุนแรงมากขึ้นภัยจะเกิดถี่ขึ้นและรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีสาเหตูเป็นเพราะจิตสำนึกของมนุษย์ตกต่ำลง มนุษย์มีธรรมมะน้อยลง รักกันไม่ได้ ให้กันไม่เป็นมนุษย์มีอาการป่วยทางจิตสำนึก แล้วถ้าเมื่อใดสังคมมนุษย์จะต้องต่อสู้หรือทำสงครามกับภัยธรรมชาติเสมอ
     ถ้าหลายคนเชื่อและเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ แต่ไม่รู้วิธีที่จะปฏิบัติตนปฏิบัติจิตว่าจะทำอย่างไรที่จะปฏิบัติว่าจะทำอย่างไรที่จะสั่นไหวกับความรู้ที่ตัวรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ กลัวว่าถ้าเกิดแล้วจะทำอย่างไร ได้แต่ดิ้นรนสับสนสงสัย ทำให้เกิดความทุกข์ว่าเราจะหลีกหนีไปอยู่ที่ไหนดี น้ำจะท่วมบ้านฉันไหม แผ่นดินบ้านฉันจะจมไหม แผ่นจะไหว แผ่นดินจะแยกแถวบ้านฉันหรือไม่
     ฉันและทุกคนในครอบครัวฉันคงจะต้องตาย ฉันจะรอดชีวิตหรือไม่ จะย้ายบ้านไปอยู่ที่ไหน ถ้าขายที่ตรงนี้แล้วจะไปซื้อที่ตรงไหน
               ถ้าเราเป็นอย่างนี้ เกิดความทุกข์อย่างแน่นอน
     สู้ให้เราทำใจยอมรับว่า อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด แล้วรีบก้มลงมองดูตนเองว่า “ภัยพิบัติโลกทั้งหลายที่มันจะเกิดเป็นเพราะมนุษย์ไร้จิตสำนึก มนุษย์รักกันไม่ได้ ให้กันไม่เป็น” เรารู้เรื่องสงครามระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่มันจะเกิดขึ้นนี่ดีว่าเกิดเพราะอย่างนี้เรารีบก้มหน้าก้มตาถือศีลประพฤติธรรมอยู่ในธรรมะอย่างสมดุลมีความสุนทรีย์กับการเป็นคนดี แบบอย่างที่ดีให้กับเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ
      ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่โชคร้ายอยู่ในท่ามกลางภัยพิบัติอันเลวร้ายเหล่านั้น แล้วสามารถถามตัวเองได้ว่า “ตัวเองรักกับเขาได้ ให้กับเขาเป็นคนหนึ่งหรือป่าว” เท่านี้ ตัวเราเองก็จะเป็นผู้ประพฤติธรรมที่ไม่งมงายสามารถแสดงความเป็นรูปธรรมในการเป็นคนประพฤติธรรม โดยการทำให้ตัวเองมี พลังอำนาจทางกาย พลังอำนาจทางจิต และพลังงานอำนาจทางจิตวิญญาณหรือพลังอำนาจทางสติปัญญา ที่เราเพียรแสวงหาเพื่อให้แก่ตัวเราเองนั้น เราทำขึ้นมาได้แล้ว
     ความสามารถที่จะสั่นสะเทือน 3 สิ่ง 3 ด้านที่กล่าวนี้ เป็นพลังอำนาจด้านบวกที่สูงสุด เป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยปกป้องตนเองให้แคล้วคลาดปลอดภัย และดำเนินชีวิตอยู่บนโลกใบนี้อย่างมีสันติสุขได้อย่างแน่แท้
    ดังนั้นวิธีที่จะนำพาตัวเองไปสู่ความสุข คือ การนำตัวเองไปสู่การพ้นทุกข์ให้ได้ อะไรจะเกิดก็ต้องเกิดไปบนโลกนี้ ใครมีหน้าที่จะต้องทำสิ่งใดก็ต้องทำสิ่งนั้นไป ถ้าทำอย่างนี้ได้ก็จะดีกว่า  เช่นคนกลัวผี เวลาใครเราเรื่องผี เขาก็จะพยายามเข้ามานั่งฟังใกล้ๆตั้งใจชูคอฟังกันหน้าสลอน อยากรู้เรื่องผี พอรู้แล้วก็เกิดทุกข์อีก คือกลัวผีแต่สำหรับคนที่ไม่กลัวผี เขาก็จะไม่มีทุกข์ เพราะเวลาใครเล่าเรื่องผีใครพูดเรื่องผี เขาทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ เขาจะไม่สนใจ คือ วางเฉยได้
    เพราะฉะนั้น ความรู้อะไรที่ไม่ควรรู้ ไม่น่ารู้ เมื่อเรารูแล้วไม่อาจทำใจรับมันได้ หรือแม้ว่าจะเป็นเรื่องน่ารู้ แต่เรารู้แล้วเราทำใจไม่ได้ เราไม่สามารถปฏิบัติตนให้ถูกต้องเหมาะสม ทำจิตใจของเราให้สมดุลไม่ได้  เมื่อเรารับฟังแล้วรับรู้แล้วจะเกิดทุกข์ เราก็สู้อย่าไปรู้มันเสียจะดีกว่า ควรทำใจยอมรับให้ได้ว่า พอถึงเวลา พอถึงเวลาแล้วค่อยมารู้กันว่ามันเป็นอย่างไรจะดีกว่า
2.            รู้มาก คนที่รู้มากก็ไม่ต่างกับคนที่รู้อะไรล่วงหน้าที่เป็นเรื่องร้ายๆเรื่องที่จะเสียหาย แล้วทำจิตใจหวั่นไหวกลายเป็นทุกข์ได้บางที่รู้แล้วเกิดร้อนวิชา การรู้แล้วเกิดร้อนวิชาหมายความว่า “อยากแสดงออก” บางทีแสดงออกอย่างเดียวไม่พอ อยากอวด คือ อวดคนอื่นว่าข้าแน่อวดว่าข้าเก่ง ไปท้าทายคนอื่นเขา ถ้าไม่มีเวทีไม่มีให้แสดงออก หรือไม่มีใครเขาที่จะใส่ใจรับรู้รับฟัง ไม่มีใครยกย่องยกยอ สิ่งเหล่านี้ก็ทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาได้
      เพราะฉะนั้น ถ้าจะรู้ก็ขอให้รู้แค่พอตัว ถ้าเรารู้มากเกินไปแล้วร้อนวิชา อย่าไปรู้มันมันเสียดีกว่า  แต่ถ้ารู้มากแล้วเป็นความรู้ที่ควรรู้ เป็นความรู้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อชีวิตตนเองและครอบครัว ช่วยให้เกิดความสันติสุขในสังคมที่เป็นส่วนรวมได้ เราควรรีบเรียนรู้เอาไว้มากๆโดยเร็ว แล้วอาการร้อนวิชาก็จะไม่มี เพราะเราจะไม่ทุกข์อะไร
      ก็นี่คือทางออกหรือทางเลี่ยง สำหรับผู้ประพฤติธรรมที่จะสามารถนำพาสันติสุขมาสู่ตนเอง ครอบครัว และสังคมที่ดำรงอยู่ได้อย่างสบายๆ
3.            รู้น้อยหรือรู้ผิด เป็นความทุกข์ที่เกิดจากความรู้เช่นกันเพราะว่าเป็นเรื่องของเศษๆความรู้ คนเราบางครั้งเวลารู้น้อย คือ รู้น้อยเกินไปก็เป็นทุกข์เหมือนกัน ที่ทุกข์เป็นเพราะว่า ถ้าจะนำเอาความรู้นั้นมายังชีพ มาทำงาน มาสื่อสอน มาสั่งสอนผู้อื่น ก็จะขาดความมั่นใจเพราะเรายังรู้ไม่จริง
คนเราทำอะไรแล้วขาดความมั่นใจในสิ่งที่ตนเองกำลังประพฤติปฏิบัติ หรือกำลังจะกระทำอยู่ เขาก็จะเป็นทุกข์ได้ เกิดทุกข์เพราะกลัวผิดพลาด กลัวเกิดความล้มเหลวจากการกระทำของตัวเอง หรือทุกข์เพราะว่ากลัวว่าจะทำไม่ได้จะทำไม่สำเร็จ
นั่นคือ เกิดความทุกข์เพราเรารู้น้อยเกินไป ฉะนั้น วิธีเดียวที่จะแก้ที่จะช่วยให้เราไม่มีความทุกข์ หรือทำให้เราว่างไปจากความทุกข์ ก็คือหมั่นศึกษาเรียนรู้เอาไว้มากๆ เปิดใจให้กว้างพร้อมจะรับรู้เรียนรู้ความรู้ความรู้ใหม่และสิ่งใหม่ๆ ซึ่งเป็นทางออกที่จะทำให้เราปลอดทุกข์ได้
ส่วนความรู้ที่ผิดๆนี้ ส่วนมากแล้วจะเป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการที่ตนเองสั่นสะเทือนตนเองด้วยความรู้ที่รู้มาโดยผิดๆ เช่น ถูกเขาหลอกมา ได้รับข้อมูลผิดๆ ได้รับข้อมูลไม่ถูกต้องไม่ครบถ้วน เหล่านี้คือสิ่งที่มนุษย์ทำผิดพลาดกันมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเป็นผู้จัดการเราบริหารงานแล้วตัดสินใจผิดพลาด เพราะเรารู้น้อยหรือรู้ผิด ก็ไม่ต่างกับเป็นการนำทุกข์มาสู่ตนเองทุกครั้งที่ตัดสินใจ
นอกจากนี้ การที่เรามีความรู้น้อยหรือได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดทำให้เกิดความทุกข์เกิดขึ้นในจิตของตนเองแล้ว ทุกข์อันเกิดจากการสั่นสะเทือนผิดๆจากการแสดงพฤติกรรมการปฏิบัติที่ผิดๆ ยังจะทำให้คนอื่นที่อยู่รอบข้าง เช่น เพื่อนร่วมงานของเรา เจ้านาย ลูกน้อง พ่อ แม่ พี่ น้อง สามี ภรรยา และลูกๆหลานๆของเรา เขาเหล่านั้นก็พลอยเป็นทุกข์ตามเราไปด้วยเพราะพฤติกรรมที่เกิดจากการที่เรารู้ผิดรู้พลาด หรือไม่รู้ถูกต้องนั่นเอง เพราะฉะนั้นเราต้องระวังในการสรรหาและใช้ข้อมูลในการดำเนินชีวิตด้วยเหมือนกัน
4.ทุกข์อันเกิดจากความไม่รู้ เป็นความทุกข์ที่จะทำให้เรามีปัญหา แล้วทำให้เราหาความสุขไม่ได้ ทำให้มีพลังอำนาจทางจิตใจที่ต้อยต่ำ
            ทุกข์อันเกิดจากความไม่รู้ ก็คือ เราไม่รู้อะไรเลย เช่น ไม่รู้ว่ามันจะเป็นอย่างไร ไม่รู้ว่ามันจะเป็นอย่างไร ไม่รู้ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น ไม่รู้ว่าเขาจะคิดอย่างไร ไม่รู้ว่าอนาคตหรือโชคชะตาว่าจะเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่รู้ขนาดนี้เราทุกข์แน่นอน
            เพราะฉะนั้น เราก็จะต้องหาวิธีที่จะดับทุกข์ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในวิสัยของเราที่จะสามารถประพฤติปฏิบัติได้ ด้วยการรีบทำความไม่รู้ให้มันรู้กระจ่างเสีย
            แต่ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวของคนอื่น แล้วเราบังเอิญไปรู้เรื่องของเขาอย่างนี้ถือว่าเราไปใฝ่รู้ในเรื่องส่วนตัวของชาวบ้าน เขาก็กล่าวหาเราได้ว่า ส.เสือใส่เกือกไปยุ่งเรื่องของเขา มันก็ไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใคร เราก็จะเป็นทุกข์อยู่อย่างเดิม ทางออกทาเลือกที่ฉลาด คือต้องไม่รับรู้เรื่องส่วนตัวของคนอื่นเขา
            เพราะฉะนั้น ความไม่รู้บางครั้งมันก็เป็นสุขดีอยู่แล้ว ก็อย่าทำให้ตัวเองเป็นทุกข์ เพราะความไม่รู้ตรงนั้นเลย แต่ถ้าเป็นความไม่รู้ในสิ่งที่ควรรู้ก็รีบทำความไม่รู้นั้นให้กระจ่างเสีย ด้วยการเรียนรู้ หาครูสอน ศึกษาค้นคว้ากันต่อไป
5.ทุกข์อันเกิดจากความไม่เข้าใจ ก็ไม่ต่างกับความไม่รู้ ถ้าเราเกิดจากไม่เข้าใจเราก็ทำให้เข้าใจเสีย ใจเย็นๆ ค่อยๆศึกษา ค่อยๆเรียนรู้ แล้วค่อยๆทำความไม่เข้าใจ ถ้าไมเข้าใจใครก็ศึกษาคนนั้น ไม่เข้าใจความรู้สึก ก็ศึกษาความรู้นั้น ไม่เข้าใจเรื่องราวหรือสถานการณ์ใดก็ศึกษาเรียนรู้สถานการณ์นั้น คำตอบมีเพียงท่านี้

    แหล่งที่มา ปริญญา ตันสกุล(2551)ทุกข์ได้แต่อย่าท้อ.สำนักพิมพ์จิตจักรวาล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น